FlowAccount
ดาวน์โหลดฟรีได้แล้ววันนี้

ขั้นตอนปิดงบการเงินออนไลน์สำหรับนักบัญชี ตอนที่สอง

ขั้นตอนปิดงบการเงินออนไลน์สำหรับนักบัญชี ตอนที่ 2

ขั้นตอนที่ 2 ตรวจสอบว่าเก็บเงินครบตรงกับยอดในบัญชีธนาคาร

ขั้นตอนนี้ถือว่าสำคัญมาก เพราะในการทำธุรกิจก็จะมีกระแสเงินสดเข้าออกหลากหลายช่องทาง ทั้งการรับในรูปแบบเงินสด เงินโอน บัตรเครดิต หรือเช็ค เป็นต้น

ดังนั้นเราต้องตรวจสอบรายการเงินเข้า-ออก ที่เกี่ยวข้องกับธนาคาร โดยแบ่งรายการที่เกิดขึ้นภายในกิจการออกเป็น

รายการที่เกี่ยวข้องกับเงินสด

ด้านรายได้ รายการขายสินค้าหรือบริการที่มีการรับด้วยเงินสด จะต้องมีการนำเงินเข้าฝากธนาคาร ดังนั้นรายการนี้จะต้องให้นักบัญชีลงบัญชีที่สมุดรายวันทั่วไป

ลงบัญชีรายการเงินฝากธนาคารที่สมุดรายวันทั่วไป

ด้านค่าใช้จ่าย ในการจ่ายค่าใช้จ่าย ถ้าเป็นการจ่ายด้วยเงินสด ส่วนมากจะเป็นการจ่ายด้วยเงินสดย่อย ซึ่งสามารถบันทึกในระบบ FlowAccount ได้ตามภาพ

บันทึกเงินสดย่อยที่เมนูค่าใช้จ่าย

และทุกๆ ครั้งที่มีการเบิกเงินสดย่อยคืน ก็จะมีรายงานการใช้เงินสดย่อยและการโอนเงินก็ต้องให้นักบัญชีลงบัญชีที่สมุดรายวันทั่วไป

รายงานความเคลื่อนไหวเงินสดย่อย

รายการที่เกี่ยวข้องกับเช็ค เงินโอน และบัตรเครดิต

ทั้งด้านรายได้และค่าใช้จ่ายจะให้แนบหลักฐานการโอนเงินเข้าในระบบ เพื่อเป็นการทำเอกสารให้สะดวกต่อการตรวจสอบ

นักบัญชีตรวจสอบรายการรับเงินจากสมุดรายการเดินบัญชีธนาคาร เทียบกับบัญชีแยกประเภทของแต่ละบัญชีธนาคาร รายงานสรุปค่าใช้จ่าย และรายงานยอดขาย

ตรวจสอบรายการรับเงินจากสมุดรายการเดินบัญชีธนาคาร

บันทึกรายได้ที่ยังไม่ได้บันทึกบัญชี เช่น ดอกเบี้ยรับจากสมุดรายการเดินบัญชีของธนาคาร ยกตัวอย่าง ใช้ตามสมุดรายการเดินบัญชีจากทางธนาคารจะมีบางรายการที่ไม่ได้อัพเดต

Statemet

และสามารถลงบัญชีได้ที่สมุดรายวันทั่วไปตามภาพ

รายงานสรุปสินค้าคงเหลือ

ขั้นตอนที่ 3 กระทบยอดทำรายงาน

ในการกระทบยอดเป็นการทำเพื่อเช็กยันยอดทุกรายการ ซึ่งสามารถดูได้จากงบทดลองในระบบ FlowAccount ว่าถูกต้องแล้วหรือไม่ มีเอกสารทางการเงินทุกรายการแล้วหรือยัง และเป็นรายการขั้นสุดท้ายก่อนการปิดบัญชี

การกระทบยอดจะพิจารณาตามตัวเลขในงบการเงิน ต้องมีหัวข้อหลักๆ อย่างน้อยที่ต้องพิจารณาดังนี้

1. กระทบยอดสินค้าคงเหลือ โดยพิจารณาจากรายงานสินค้าคงเหลือและสต็อกการ์ด รายงานสินค้าคงเหลือจะช่วยให้ตรวจนับสินค้าได้สะดวกขึ้น

รายงานสรุปสินค้าคงเหลือ

และถ้าต้องการทราบความเคลื่อนไหวของสินค้าแต่ละชนิดให้เข้ามาที่สต็อกการ์ด

สต็อกการ์ด

จะได้ช่วยให้นักบัญชีสามารถติดตามยอดรายการที่เกิดขึ้น ถ้ามีรายการที่ไม่ได้บันทึกจะได้ปรับปรุงที่สมุดรายวันทั่วไป

2. กระทบยอดลูกหนี้คงค้าง ให้นำเอกสารต่อไปนี้มาเช็กยัน
รายงานยอดลูกหนี้รายตัว
บัญชีลูกหนี้การค้าและใบเสร็จรอเรียกเก็บ จากงบทดลองในระบบ FlowAccount ตามภาพ

ตัวอย่างรายงานยอดลูกหนี้รายตัว

ตัวอย่างงบทดลอง

3. กระทบยอดเจ้าหนี้คงค้าง ให้นำเอกสารต่อไปนี้มาเช็กยัน
รายงานเจ้าหนี้รายตัว
บัญชีเจ้าหนี้การค้าทั่วไป และเจ้าหนี้อื่น จากงบทดลองในระบบ FlowAccount

 ตัวอย่างรายงานยอดเจ้าหนี้รายตัว

4. กระทบยอดเงินสดและเงินฝากธนาคาร ให้ใช้รายการเดินบัญชีของแต่ละธนาคารเทียบกับงบทดลองหรือบัญชีแยกประเภทของบัญชีธนาคารที่ได้สร้างไว้

แนะนำบัญชีเช็คถ้ายังเคลียร์ไม่หมด อย่าลืมตามด้วยนะ :)

ตัวอย่างงบทดลองบัญชีธนาคาร

ตัวอย่างบัญชีแยกประเภทของบัญชีธนาคาร

5. ปิดภาษีซื้อและภาษีขาย ให้ตรวจสอบยอดรายได้กับรายงานภาษีขาย โดยเข้าที่เมนูบริหารภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อดูรายงานภาษีขาย และเรียกดูงบทดลองก่อนปรับปรุงเพื่อเช็คยันยอดรายได้กับรายได้ที่ใช้ในการคำนวณภาษีขายได้ในทันที

ภาษีมูลค่าเพิ่มจากรายงานสรุปยอดขาย

จะเห็นได้ว่ารายงานยอดขายและงบกำไรขาดทุนมียอดขายตรงกับรายงาน ทำให้งานเช็คยันยอดทำได้ง่ายขึ้น

งบกำไรขาดทุน

ส่วนด้านภาษีซื้อให้เรียกรายงานภาษีซื้อจากเมนูบริหารภาษีมูลค่าเพิ่ม จากรายงานในเมนูบริหารภาษีมูลค่าเพิ่มเทียบกับแบบ ภ.พ.30 ที่เกิดขึ้นมาแล้วทั้งปี

รายงานภาษีซื้อ

แล้วให้ปิดยอดภาษีซื้อและภาษีขายเข้าบัญชีเจ้าหนี้กรมสรรพากร หรือลูกหนี้กรมสรรพากร (หรือบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่มรอขอคืน) ขึ้นอยู่กับว่าเราจะได้ขอภาษีคืน หรือต้องนำส่งเพิ่มได้ที่สมุดรายวันทั่วไป

ปิดยอดภาษีซื้อและภาษีขายเข้าบัญชีเจ้าหนี้กรมสรรพากร